“พิธีลงนามความร่วมมือในการยกระดับอุตสาหกรรมด้วย IDA platform” และการเสวนา ภายใต้หัวข้อ “SME ไทยเร่งปรับตัวสู่ Industry 4.0 เพื่อรับมือกับ New Normal”


 

   โดยประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ร่วมกับพันธมิตรชั้นนำทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 13 หน่วยงาน เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน เวลา 14.00 น. โดยได้ทำการลงนามแบบออนไลน์ผ่านระบบออนไลน์ Webex (Cisco) 

 


 

 

    เมื่อโลกหลังโควิด ไม่ใช่ใบเดิมอีกต่อไป วิกฤตการณ์นี้ได้นำมาซึ่งการตื่นตัวของผู้คนในทุกวงการให้เกิดการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ในภาคอุตสาหกรรมก็เช่นเดียวกัน โดยนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาหลักของทาง SME คือเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยี เนื่องจากการเข้าถึงส่วนใหญ่นั้นจะเป็นเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้าน IoT ที่มีราคาค่อนข้างสูง ทำให้ SME ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี IoT เพื่อนำมาช่วยปรับปรุงงานด้านการผลิตให้มีประสิทธิภาพได้

 

-      แต่โครงการ Industrial IoT and Data Analytics Platform หรือ IDA Platform นี้เป็นโครงการที่ถูกพัฒนาโดยคนไทย ภายใต้ความร่วมมือของ สวทช. ซึ่งมีราคาไม่สูงจนเกินไป และเป็นระบบที่มีมาตราฐาน สามารถนำมาช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปของภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ รวมทั้งช่วยยกระดับความสามารถและประสิทธิภาพสู่อุตสาหกรรม 4.0 เข้าสู่ยุค Industry Transformation ตามนโยบาย Thailand 4.0 

 

   เบื้องต้นทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ร่วมมือกับ เนคเทคในการจัดตั้งโครงการผ่านโรงงานอุตสาหกรรมนำร่อง จำนวน 10-20 โรงงาน ในช่วงปี 2563 และตั้งเป้าขยายสู่ 500 โรงงาน ภายในเวลา 3 ปี โดยหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม จะเน้นจากสมาชิกสภาอุตสาหกรรมเป็นหลัก

 

 

 

    IDA (Industrial IoT and Data Analytics) platform คือแพลตฟอร์มไอโอที (IoT) และระบบวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงข้อมูลจากเครื่องจักรการผลิต และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและอนุรักษ์พลังงานให้ดีที่สุด ตอบสนองความจำเป็นเร่งด่วนต่อการปรับตัวของ SME ในภาคการอุตสาหกรรม โดยแพลตฟอร์ม IDA นั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายงาน อาทิเช่น

 

 

    ข้อ 1. การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต หรือ Overall Equipment Effectiveness (OEE) เพื่อเพิ่มผลผลิต(productivity) แก่โรงงานอุตสาหกรรม


    ข้อ 2. การตรวจวัดปริมาณการใช้พลังงานในโรงงาน (Energy Monitoring)  เพื่อเก็บข้อมูล วิเคราะห์และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงาน แบบ Real time มาแสดงผลเป็น Dashboard


   
ข้อ 3. การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงาน

 

 

ต้องการชมวีดีโอย้อนหลัง  https://bit.ly/2UYfHew